1,000,000 คน จะพบว่าเด็กมีปัญหาทางการเรียนรู้จำนวน 1,000,000 คน ส่วนใหญ่มีปัญหาทางด้านการอ่านและการเขียนจำนวน 80%ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ประมาณ 800,000 คนจากทั่วประเทศ ทำให้เกิดมาตรการแก้ปัญหานี้จากหลายฝ่าย แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง
และจากที่กล่าวมานี้ทำให้รู้ว่าเด็กไทยมีปัญหาทางด้านการศึกษาเป็นอย่างมากทางเราจึงได้รวบรวมสาเหตุของปัญหาและแนวทางในการแก้ไขโดยมีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาของครูที่ส่งผลกระทบต่อเด็กไทย
ความเป็นมาและสาเหตุของปัญหา
จากการศึกษาปัญหาการศึกษาของเด็กไทยโดยมีศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ปัญหาวิกฤตการศึกษาไทยในปัจจุบัน นอกจากจะมีปัญหาเรื่องขาดแคลนครูแล้ว ยังมีปัญหาครูสอนไม่ตรงตามวุฒิการศึกษาที่เรียนจบมา จึงทำให้เกิดความอ่อนแอในเนื้อหาสาระ และเมื่อวัดระดับคุณภาพแล้วก็ปรากฏว่าครูเหล่านี้สอบตก ในขณะที่ ศธ.ก็ไม่สามารถจัดหาครูมาสอนตรงตามวิชาต่างๆ ได้ทั้งหมด เพราะครูประจำการที่สอนอยู่เดิมก็ต้องสอนต่อไป ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.ให้ จะประสานกับมหาวิทยาลัยต่างๆ จัดตั้งศูนย์อบรมและพัฒนาในพื้นที่ต่างๆ ขึ้น เพื่อให้ครูสามารถไปอบรมเพิ่มเติมได้ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์
สำหรับปัญหาและแนวทางการดำเนินการแก้ไขที่สำคัญๆ มีดังนี้
1.ปัญหาการขาดแคลนครู
ปัญหาการขาดแคลนครูในประเทศไทยว่านอกจากจะขาดแคลนในเชิงปริมาณแล้ว ประเด็นที่ใหญ่กว่านั้นคือการขาดแคลนในเชิงคุณภาพ เป็นปัญหาร่วมกันของทุกประเทศในเวทีการประชุมโต๊ะกลมภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาโดยมี ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต เป็นประธาน จนกระทั่งเกิดเป็น ข้อตกลงร่วมกันระหว่าง ๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และฮ่องกง ในการศึกษาวิจัยเรื่องการขาดแคลนครูในเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาว่าครูที่สอนในกลุ่มสาระวิชาต่างๆ มีคุณวุฒิตรงตามวิชาเอกที่เรียนมาหรือไม่ ระยะเวลาในการศึกษาวิจัย ๒ ปี และจะมีการประชุมสรุปผลการวิจัยของทั้ง ๗ ประเทศในเดือนพฤศจิกายนนี้รศ.ดร.พฤทธิ์ กล่าวต่อไปว่าคณะวิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลครูจำนวน ๘๔,๒๐๖ คน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาใน๑๑๕ เขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน วิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำการศึกษาเป็นวิชากลุ่มสาระตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน ๘ กลุ่ม ได้แก่ ผลการวิจัยพอสรุปได้ว่าในโรงเรียนรัฐบาล ครูที่สอนตรงกับคุณวุฒิวิชาเอกที่จบ โดยเฉลี่ยแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น ๗๔% ตรงกับ วิชาโท ๒% ครูที่สอนไม่ตรงกับคุณวุฒิวิชาเอกที่จบมี ๒๔% ส่วนครูในโรงเรียนเอกชนที่สอนวิชากลุ่มสาระต่างๆ ตรงกับวิชาเอกที่เรียนมามีถึง ๗๘% ตรงกับวิชาโท ๒% ครูที่สอนไม่ตรงกับคุณวุฒิวิชาเอกที่จบมีเพียง ๑๙%เมื่อแยกเป็นรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูโรงเรียนของรัฐที่สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตรงกับวิชาเอกที่เรียนมามากที่สุดคือวิทยาศาสตร์ (๘๕%) รองลงมาคือภาษาอังกฤษ (๘๐%) ภาษาไทย (๗๖%) สำหรับครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ตรงกับวิชาเอกที่เรียนมามากที่สุดคือ วิชาศิลปศึกษา (๓๙%) รองลงมาคือ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (๒๘%) สุขศึกษา (๒๗%) ในขณะที่โรงเรียนเอกชน ครูที่สอนตรงวุฒิ วิชาเอกมากที่สุดคือวิทยาศาสตร์ (๙๐%) อันดับสองคือสุขศึกษาและภาษาอังกฤษ (๘๓%) ส่วนครูที่สอนไม่ตรงกับวุฒิวิชา เอกมากที่สุดอันดับ ๑ และ ๒ คือวิชาศิลปศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยีเช่นเดียวกับโรงเรียนรัฐบาล ในขณะที่ครูโรงเรียนเอกชนที่สอนไม่ตรงวุฒิมากที่สุดเป็นอันดับ ๓ คือวิชาภาษาอังกฤษคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่าจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่า โรงเรียนเอกชนมีการจัดสรรครูสอนในวิชาต่างๆ ที่ตรงกับวุฒิการศึกษามากกว่าโรงเรียนของรัฐ ปัจจัยหนึ่งเป็นผลมาจากที่ผ่านมาโรงเรียนเอกชนมีระบบการสอบบรรจุครูเอง โดยให้ความสำคัญกับเรื่องการบรรจุครูที่สอนตรงตามวุฒิการศึกษาที่จบมา ส่วนโรงเรียนของรัฐบาลนั้น ระบบการสรรหาคัดเลือกครูแต่เดิมจะมีการรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพฯ ครูที่ผ่านการสอบคัดเลือกจะถูกส่งไปยังโรงเรียนต่างๆ การมีระบบกระจายอำนาจไปยังเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนตามการปฏิรูปการบริหารงานบุคคลของครูน่าจะช่วยให้การบรรจุครูตรงกับวุฒิการศึกษา มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ได้ครูที่สอนไม่ตรงวุฒิการศึกษาได้แก่ ระบบการจัดการศึกษาเพื่อผลิตครูผู้สอนในบางรายวิชา ยังมีไม่เพียงพอ การที่ข้าราชการครูขอย้ายไปช่วยราชการในโรงเรียนอื่นหรือในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลด้วยเหตุผลต่างๆ ซึ่งอาจไปสอนในวิชาที่ไม่ตรงกับสาขาที่จบมา
2.ปัญหาครูสอนไม่ตรงตามวุฒิการศึกษาที่จบมา นายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ ปัญหาครูสอนไม่ตรงตามวุฒิการศึกษาที่จบมา ทำให้มีความอ่อนแอในเนื้อหาสาระ และเมื่อวัดระดับแล้วก็ปรากฏว่าครูสอบตก ขณะเดียวกันกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็ไม่สามารถหาครูที่จบตรงตามวุฒิการศึกษาที่สถานศึกษาขาดแคลนมาสอนตามวิชาต่างๆ ได้ทั้งหมด เพราะครูประจำการที่สอนอยู่เดิมก็จะต้องสอนต่อไป
รมว.ศธ. กล่าวว่า เมื่อครูได้รับการพัฒนาแล้ว จะมีระบบประเมินผลการพัฒนาและการให้กำลังใจ ใน 2 ด้าน คือ ถ้าเติมความรู้ได้มากถึงระดับที่กำหนดก็จะให้ได้รับวุฒิการศึกษาในสาขาวิชาที่มาเพิ่มเติม และถ้าเติมในบางส่วนและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำหน้าที่ก็อาจจะให้เงินค่าวิทยพัฒน์ หรือค่าวิชาที่พัฒนาแล้วสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ครูตื่นตัวที่จะเข้ารับการพัฒนา ซึ่งในส่วนนี้จะไม่ใช้เงินมาก เพราะเป็นเงินเพิ่มที่ไม่ใช่เงินเดือน
แนวทางการแก้ปัญหา
จากบทความได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาดังนี้
รศ.ดร.พฤทธิ์ เสนอว่า งานการบริหารบุคคลการบรรจุครู เป็นหน้าที่ของโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จะต้องร่วมมือกันซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาครูที่สอนไม่ตรงตามวุฒิ ในบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ประสบปัญหาดังกล่าวควรมีการส่งครูไปเข้ารับการอบรมเพิ่มพูนความรู้เพิ่มเติม
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำรวจว่ามีครูที่สอนไม่ตรงตามวุฒิ หรือสอนตรงตามวุฒิแต่ยังต้องเพิ่มเติมเนื้อหาสาระจึงจะทำให้สอนในวิชานั้นๆ ได้ดี จำนวนเท่าไหร่ ที่ไหน เพื่อระดมพลังหน่วยงานทางการศึกษาพัฒนาเติมเนื้อหาสาระให้ โดยจะประสานกับมหาวิทยาลัยต่างๆ จัดตั้งศูนย์อบรมและพัฒนาขึ้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น