ในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นอกจากกำหนดให้มี
องค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาแล้วผู้บริหารการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหาร
ของสภาวิชาชีพในกำกับของกระทรวงแล้วยังกำหนดให้เฉพาะครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการ
ศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษาต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
(professional license) ยกเว้นบุคคลต่อไปนี้คือ
1) บุคลากรเป็นศูนย์การเรียน ตามมาตรา 18 (3)
2) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
3) วิทยากรพิเศษทางการศึกษา
4) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา
ในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเปิดสอนถึงระดับปริญญา คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ส่วนคณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งเปิดสอนระดับต่ำกว่าระดับปริญญา (อยู่ในสังกัดเขตพื้นที่
การศึกษา) ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ดังนั้น บุคคลตามนัยนี้ทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ในปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอยู่หลายหน่วยงาน
เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้สนับสนุนการวิจัยและทำประชาพิจารณ์ นำโดย
ศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และได้ข้อสรุปในเนื้อหาสาระหลายประการ แต่ยังไม่มีข้อยุติ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) และคุรุสภา กำลังดำเนินการร่าง กฎหมายเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้ร่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เสนอให้คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติให้ความเห็นชอบ และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2543 และประกาศใช้แล้ว
สำหรับมาตรฐานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีการกำหนด
คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาไว้ดังนี้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น