วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู

ในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นอกจากกำหนดให้มี
องค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาแล้วผู้บริหารการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหาร
ของสภาวิชาชีพในกำกับของกระทรวงแล้วยังกำหนดให้เฉพาะครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการ
ศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษาต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
(professional license) ยกเว้นบุคคลต่อไปนี้คือ
1) บุคลากรเป็นศูนย์การเรียน ตามมาตรา 18 (3)
2) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
3) วิทยากรพิเศษทางการศึกษา
4) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา

ในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเปิดสอนถึงระดับปริญญา คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ส่วนคณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งเปิดสอนระดับต่ำกว่าระดับปริญญา (อยู่ในสังกัดเขตพื้นที่
การศึกษา) ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ดังนั้น บุคคลตามนัยนี้ทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ในปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอยู่หลายหน่วยงาน
เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้สนับสนุนการวิจัยและทำประชาพิจารณ์ นำโดย
ศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และได้ข้อสรุปในเนื้อหาสาระหลายประการ แต่ยังไม่มีข้อยุติ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) และคุรุสภา กำลังดำเนินการร่าง กฎหมายเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้ร่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เสนอให้คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติให้ความเห็นชอบ และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2543 และประกาศใช้แล้ว

สำหรับมาตรฐานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีการกำหนด
คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาไว้ดังนี้
1) มีคุณธรรม จริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีโดย
- อุทิศตนให้กับการปฏิบัติงานในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
- มีความรับผิดชอบ ยุติธรรม ซื่อสัตย์
6
- ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข
2) มีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการ โดยมีวิสัยทัศน์ในการ
จัดการศึกษาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

การปฏิรูปการศึกษาจะประสบความสำเร็จย่อมต้องอาศัยปัจจัยหลักหลายอย่าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยในระดับปฏิบัติคือ สถานศึกษา ซึ่งมีผู้บริหาร ครูและบุคลากร
ทางการศึกษาอื่น รวมทั้งทรัพยากรที่จำเป็น ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารและการจัดการศึกษา เพื่อบรรลุจุดหมายของการศึกษา ซึ่งจำเป็นต้องมีศักยภาพ สมรรถภาพ และคุณลักษณะที่เอื้อต่อ การจัดการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมจริยธรรม เพื่อจัดดำเนินการให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของการบริหาร

การบริหารโรงเรียนตามนโยบายและแนวโน้มต่อไป จะเป็นการบริหารโดยใช้โรงเรียน
เป็นฐานหลักสำคัญ (School-based management: SBM) ทั้งนี้เพราะผลการศึกษาหรือคุณภาพ
นักเรียนจะเกิดขึ้นที่โรงเรียนเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
ในมาตรา 39 หมวด 5 ได้กำหนดให้มีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้ง 4 ด้าน
คือ ด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการ
และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง
มาตรา 39 ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ
งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป ไปยัง คณะกรรมการ และ สำนักงาน
การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา และ สถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษา
โดยตรง หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้แก่สถานศึกษา/โรงเรียนโดย ตรงเป็นเรื่องใหม่ และจนถึงปัจจุบัน (กันยายน 2544) ก็ยังไม่มีหลักเกณฑ์และวิธีการกระจาย อำนาจเป็นกฎกระทรวง ประกาศใช้แต่อย่างใด เพื่อเป็นการเตรียมการและรับทราบสถานภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการ กระจายอำนาจดังกล่าว จึงเห็นสมควรศึกษาในเรื่องนี้ขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย กฎและระเบียบปฏิบัติต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น