การบริหารกิจการใด ๆ ที่เกี่ยวกับสาธารณะในยุคโลกาภิวัตน์ มีความจำเป็นต้อง
อาศัยผู้บริหารมืออาชีพ จึงจะทำให้ธุรกิจต่างๆเหล่านั้นดำเนินการไปด้วยดีและบรรลุจุดมุ่งหมาย
ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็น
ไปอย่างรวดเร็ว อย่างไร้พรมแดน และกระทบกระเทือนไปทุกประเทศทั่วโลก
ในด้านการจัดการศึกษาก็ไม่มีเว้น มีความจำเป็นต้องอาศัยผู้บริหารการศึกษาและ
ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ จึงจะทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาประสบความสำเร็จและ
เป็นไปตามแนวทางที่พึงประสงค์
การเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว และ
ตลอดเวลา ซึ่งก่อให้เกิดความสลับซับซ้อนและปัญหาอย่างไม่มีสิ้นสุด จำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มี
วิสัยทัศน์ ความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรมในการดำเนินการ จึงจะทำให้องค์กรประสบความ
สำเร็จตามความมุ่งหมายที่คาดไว้
แม้ว่าการศึกษาของไทยจะได้เริ่มเป็นจริงเป็นจัง และกว้างขวางขึ้นมาเป็นเวลานาน
พอสมควร และได้รับการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขมาตลอด แต่ยังมีปัญหาอุปสรรคในการจัด
การศึกษา และการบริหารการศึกษาหลายประการ กล่าวคือ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542)
1) คุณภาพการจัดการศึกษายังไม่เป็นที่น่าพอใจ ที่พอจะสู้ประเทศอื่นในเวทีโลกได้
2) การบริหารการศึกษาและการจัดการศึกษายังรวมศูนย์อำนาจไว้ส่วนกลาง กอปรทั้ง
ขาดเอกภาพ ทั้งด้านนโยบายและมาตรฐาน
3) การขาดประสิทธิภาพของการประกันคุณภาพการศึกษา
4) การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
5) การขาดการพัฒนานโยบายอย่างต่อเนื่อง
6) การขาดความเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน
นอกจากปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว ประเทศไทยในปัจจุบันยังประสบวิกฤตการศึกษาหลายประการ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, มีนาคม 2544) ได้แก่
1) วิกฤตด้านโอกาสและการเข้ารับการศึกษา
2) วิกฤตด้านคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะสัมฤทธิผลทางการเรียน
3) วิกฤตด้านความเสมอภาคในสิทธิทางการศึกษา
4) วิกฤตด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้
5) วิกฤตด้านการขาดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ ประสิทธิภาพใน
การผลิตและรายได้ประชาชาติ
6) วิกฤตด้านคุณธรรม จริยธรรม
7) วิกฤตด้านศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย
การแก้ปัญหาวิกฤตดังกล่าวจำต้องอาศัยปัจจัยแห่งความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาโดย
1) การเน้นที่คุณภาพผู้เรียน
2) การที่ผู้นำประเทศมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3) การมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งประเทศ และ
4) การจัดทำกฎหมายรองรับการปฏิรูปการศึกษา
การออก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เป็นก้าวย่างที่สำคัญในการวางกรอบการปฏิรูปการศึกษาเพื่อขจัดปัญหาและวิกฤตต่างๆ นับเป็น พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฉบับแรกที่มีฐานะเป็นกฎหมาย และมีกระบวนการพัฒนาสอดคล้องกับการออกกฎหมาย ค่อนข้างสมบูรณ์
กล่าวคือ
(1) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิจัย
(2) ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มีส่วนร่วม
(3) ได้จัดทำประชาพิจารณ์ (public hearing) อย่างกว้างขวาง และ (4) การพิจารณาอย่างรอบคอบของฝ่ายนิติบัญญัติ นับเป็นแม่แบบในการจัดการศึกษาและการบริหารการศึกษา ต่อไป
ใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีเนื้อหาสาระครอบคลุมทุกประเด็นเกี่ยวกับการศึกษา ตั้งแต่ :
1) ด้านปรัชญา เป้าหมาย และจุดมุ่งหมายการศึกษา
2) หลักการจัดการศึกษา
3) สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
4) รูปแบบการจัดการศึกษา
5) แนวการจัดการศึกษา
6) การบริหารและการจัดการศึกษา
7) มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
8) ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
9) ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
10) เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางและสาระสำคัญใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จะประสบความสำเร็จ ย่อมต้องอาศัยองค์กรและบุคคลหลายฝ่าย โดยเฉพาะองค์กรปฏิบัติ ได้แก่ สถานศึกษาระดับต่างๆ ซึ่งย่อมต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม ตลอดทั้งการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นอย่างดี
องค์ประกอบหลักเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่งของบุคลากรทางการศึกษาก็คือ เจตคติที่ดี
การให้ความสำคัญและการยอมรับในสาระสำคัญที่กำหนดไว้ ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริงต่อไป
เท่าที่ผ่านมาหน่วยงานทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และทบวงมหาวิทยาลัย (ทม.) ได้พยายาม
แก้ไข ปรับปรุงและปฏิรูปการศึกษา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จนัก
เพราะใช้เฉพาะแผนการศึกษาแห่งชาติที่ออกประกาศเป็นระยะๆ เป็นหลัก ซึ่งไม่มีผลบังคับได้เต็มที่
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ โดยปฏิรูป
ทั้งกระบวนการเรียนรู้และโครงสร้างระบบบริหารการศึกษา
การปฏิรูปการศึกษาจะประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรทางการศึกษา
และประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ซึ่งต้องมี
ทั้งความรู้ ความชำนาญ และคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงาน
ในหมวด 7 ที่ว่าด้วยครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเป็นหมวดที่มีความ
สำคัญยิ่งหมวดหนึ่ง เพราะมีสาระสำคัญหลายประการคือ
1) ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต และพัฒนาครู คณาจารย์ และ
บุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยรัฐจัด
สรรงบประมาณ และกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ
2) ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการสำหรับข้าราชการครู และ
บุคลากรทางการศึกษา
3) ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา เป็นองค์กร
อิสระ มีอำนาจหน้าที่ใน 3 เรื่อง คือ
(1) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ
(2) ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
(3) กำกับ ดูแล การปฏิบัติตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณวิชาชีพ และให้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น