วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ

การศึกษาไทยได้มีการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอด แต่ยังมีปัญหาอุปสรรคในการจัดการศึกษา และการบริหารการศึกษาหลายประการ ซึ่งนอกจากปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว ประเทศไทยในปัจจุบันยังประสบวิกฤตการศึกษาหลายประการ การแก้ปัญหาวิกฤตดังกล่าวจำต้องอาศัยปัจจัยแห่งความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา การออก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

เป็นก้าวย่างที่สำคัญในการวางกรอบการปฏิรูปการศึกษาเพื่อขจัดปัญหาและวิกฤตต่างๆ นับเป็น พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฉบับแรกที่มีฐานะเป็นกฎหมาย และมีกระบวนการพัฒนาสอดคล้องกับการออกกฎหมาย ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่การปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางและสาระสำคัญใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จะประสบความสำเร็จ ย่อมที่จะต้องอาศัยองค์กรและบุคคลหลายฝ่าย โดยเฉพาะองค์กรปฏิบัติ ได้แก่ สถานศึกษาระดับต่างๆ ซึ่งย่อมต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม ตลอดทั้งการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นอย่างดี
องค์ประกอบหลักเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่งของบุคลากรทางการศึกษาก็คือ เจตคติที่ดี
การให้ความสำคัญและการยอมรับในสาระสำคัญที่กำหนดไว้ ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริงต่อไป

การที่ประเทศไทยจะแก้ปัญหาการศึกษาได้นั้น ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญและหันมาร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อให้การพัฒนาทางด้านการศึกษาเป็นไปอย่างดี โดยจะมีส่วนทำให้บุคลากรของประเทศนั้นมี ความรู้ ความสามารถ และมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อที่จะช่วยกันพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆต่อไป

องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู

ในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นอกจากกำหนดให้มี
องค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาแล้วผู้บริหารการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหาร
ของสภาวิชาชีพในกำกับของกระทรวงแล้วยังกำหนดให้เฉพาะครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการ
ศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษาต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
(professional license) ยกเว้นบุคคลต่อไปนี้คือ
1) บุคลากรเป็นศูนย์การเรียน ตามมาตรา 18 (3)
2) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
3) วิทยากรพิเศษทางการศึกษา
4) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา

ในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเปิดสอนถึงระดับปริญญา คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ส่วนคณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งเปิดสอนระดับต่ำกว่าระดับปริญญา (อยู่ในสังกัดเขตพื้นที่
การศึกษา) ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ดังนั้น บุคคลตามนัยนี้ทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ในปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอยู่หลายหน่วยงาน
เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้สนับสนุนการวิจัยและทำประชาพิจารณ์ นำโดย
ศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และได้ข้อสรุปในเนื้อหาสาระหลายประการ แต่ยังไม่มีข้อยุติ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) และคุรุสภา กำลังดำเนินการร่าง กฎหมายเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้ร่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เสนอให้คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติให้ความเห็นชอบ และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2543 และประกาศใช้แล้ว

สำหรับมาตรฐานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีการกำหนด
คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาไว้ดังนี้
1) มีคุณธรรม จริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีโดย
- อุทิศตนให้กับการปฏิบัติงานในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
- มีความรับผิดชอบ ยุติธรรม ซื่อสัตย์
6
- ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข
2) มีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการ โดยมีวิสัยทัศน์ในการ
จัดการศึกษาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

การปฏิรูปการศึกษาจะประสบความสำเร็จย่อมต้องอาศัยปัจจัยหลักหลายอย่าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยในระดับปฏิบัติคือ สถานศึกษา ซึ่งมีผู้บริหาร ครูและบุคลากร
ทางการศึกษาอื่น รวมทั้งทรัพยากรที่จำเป็น ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารและการจัดการศึกษา เพื่อบรรลุจุดหมายของการศึกษา ซึ่งจำเป็นต้องมีศักยภาพ สมรรถภาพ และคุณลักษณะที่เอื้อต่อ การจัดการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมจริยธรรม เพื่อจัดดำเนินการให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของการบริหาร

การบริหารโรงเรียนตามนโยบายและแนวโน้มต่อไป จะเป็นการบริหารโดยใช้โรงเรียน
เป็นฐานหลักสำคัญ (School-based management: SBM) ทั้งนี้เพราะผลการศึกษาหรือคุณภาพ
นักเรียนจะเกิดขึ้นที่โรงเรียนเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
ในมาตรา 39 หมวด 5 ได้กำหนดให้มีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้ง 4 ด้าน
คือ ด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการ
และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง
มาตรา 39 ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ
งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป ไปยัง คณะกรรมการ และ สำนักงาน
การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา และ สถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษา
โดยตรง หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้แก่สถานศึกษา/โรงเรียนโดย ตรงเป็นเรื่องใหม่ และจนถึงปัจจุบัน (กันยายน 2544) ก็ยังไม่มีหลักเกณฑ์และวิธีการกระจาย อำนาจเป็นกฎกระทรวง ประกาศใช้แต่อย่างใด เพื่อเป็นการเตรียมการและรับทราบสถานภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการ กระจายอำนาจดังกล่าว จึงเห็นสมควรศึกษาในเรื่องนี้ขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย กฎและระเบียบปฏิบัติต่อไป

ทำไมระบบการศึกษาไทยจึงพัฒนาช้า

"การศึกษา" นับว่ามีความสำคัญมากต่อการพัฒนาบุคลากรตลอดจนไปถึงเป็นพื้นฐานของการพัฒนาส่วนอื่น ๆ ด้วย เพราะไม่ว่าจะทำการพัฒนาส่วนใดต้องเริ่มมาจากการพัฒนาคนเสียก่อน ดังนั้นการพัฒนาคนสามารถทำได้หลาย ๆ รูปแบบ อย่างที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาคนคือการให้การศึกษา ดังนั้นการพัฒนาประเทศต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาคนโดยต้องคำนึงถึงการศึกษาเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวล้ำนำโลกไปมาก การศึกษาก็ต้องพัฒนาไปให้ทันกับโลก

เคยมีการสัมมนาเรื่อง "แนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมและค่านิยมทางสังคมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน นิสิต นักศึกษาในปัจจุบัน" ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ซึ่ง รศ.ดร.โภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา กล่าวว่า ปัญหาพฤติกรรมและค่านิยมทางสังคมที่ผิดของวัยรุ่นไทยในปัจจุบันมีความรุนแรงจนกลายเป็นวิกฤติทางสังคม ซึ่งปัญหาอันดับหนึ่งคือ ยาเสพติด รองลงมาคือการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรโดยเฉลี่ยจะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุ 16 ปี เป็นที่มาของการทำแท้ง การทอดทิ้งเด็ก เด็กถูกทำร้าย การติดเชื้อเอดส์ และการขายบริการทางเพศ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอุบัติเหตุจากความมึนเมา คึกคะนอง ท้าทายกฎระเบียบ ส่วนปัญหาที่กำลังมีแนวโน้มขยายตัวและรุนแรงในวัยรุ่นคือ การทำร้ายผู้อื่นและทำร้ายตนเอง โดยการคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มาจากความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนาและชุมชน รวมถึงสื่อโดยเฉพาะโทรทัศน์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันและรีบแก้ไขปัญหาวัยรุ่น

ผลจากการติดตามการปฏิรูปการศึกษาในรอบ 6 ปี หลังการประกาศใช้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยประเมินจากคุณภาพภายนอกสถานศึกษา 17,562 แห่งทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 49.1 ของโรงเรียนทั้งหมด พบว่า การจัดการเรียนการสอนของครูยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ยังมีคุณภาพอยู่ในระดับร้อยละ 39.2 การจัดกิจกรรมที่กระตุ้นผู้เรียนให้รู้จักคิด วิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ มีคุณภาพอยู่ระดับ ร้อยละ 13.5 และครูสามารถนำผลการประเมินมาปรับการเรียนและเปลี่ยนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเพียงร้อยละ 21.6 ของสถานศึกษาทั้งหมด การประเมินคุณภาพทางด้านผู้เรียนพบว่า ยังมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนระดับต่ำมากในทุกกลุ่ม โดยเฉพาะความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ มีคุณภาพระดับดีเพียงร้อยละ 11.1 และการมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพดีเพียงร้อยละ 26.5 ของสถานศึกษาทั้งหมด ส่วนผลการประเมินของผู้ตรวจราชการ พบว่า โครงสร้างการบริหารการศึกษาในส่วนกลาง ยังขาดการประสานเชื่อมโยงนโยบายและยุทธศาสตร์ ส่วนภูมิภาคพบว่าผู้แทนกระทรวงในจังหวัดยังไม่ชัดเจน การกระจายอำนาจไม่เป็นไปตามกฎหมาย ที่สำคัญครูจำนวนมากยังสอนแบบเดิม ขาดความรู้ในเนื้อหาวิชาและทักษะการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะครูในโรงเรียนขนาดเล็กขาดโอกาสพัฒนามาก เพราะไม่สามารถทิ้งห้องเรียนได้ การติดตามผลยังไม่เข้มแข็ง ไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทางการศึกษา

สวนดุสิตโพล: “10 ปัญหาการศึกษาไทย” ที่ “หนักอกผู้บริหารการศึกษา”

ข่าวผลสำรวจ สวนดุสิตโพล -- ศุกร์ที่ 14 มกราคม 2543 11:45:29 น.

“ปัญหาการศึกษาไทย” เป็นปัญหาที่เรื้อรังมาโดยตลอด การระดมความคิดเห็นของ “ผู้บริหารการศึกษา” ทั้งในด้านการสะท้อนปัญหาและการแก้ไขปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง “สวนดุสิตโพล” สถาบันราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาระดับสูงและระดับกลาง ที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 216 คน (ทั้งผู้บริหารในกระทรวงศึกษาธิการ, ผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับ) ในวันที่ 14 มกราคม 2543 สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

10 ปัญหาการศึกษาไทย” ที่หนักอกผู้บริหารการศึกษาและแนวทางการแก้ไข
อันดับที่ 1 ยาเสพติด 30.43%

วิธีการแก้ไข ทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง, จัดกิจกรรมให้กับนักศึกษามากขึ้น, ดำเนินการอย่างจริงจัง/ มีบทลงโทษเด็ดขาด ฯลฯ

อันดับที่ 2 ความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรทางการศึกษา 12.56%

วิธีการแก้ไข ให้ความสำคัญกับอาชีพอย่างจริงจัง,กำหนดบทลงโทษและลงโทษอย่างเฉียบขาด สำหรับผู้ขาดความรับผิดชอบ, จัดทำบัญชีเงินเดือนให้สูงขึ้น ฯลฯ

อันดับที่ 3 เงินกู้ยืม ทุนการศึกษา มีไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ต้องการ 12.08%

วิธีการแก้ไข รัฐบาลควรให้ความสนับสนุนโดยช่วยเหลือนักเรียนและสถาบันการศึกษา, การมีข้าราชการประจำทำงานโดยเฉพาะ, จัดสรรงบประมาณ, ตั้งกองทุนกู้ยืม ฯลฯ

อันดับที่ 4 สถานศึกษาขาดปัจจัยสนับสนุน ด้านบุคลากร และงบประมาณที่เหมาะสม 11.59%

วิธีการแก้ไข รีบเร่งหามาตรการแนวทางในการสรรหาบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ, เพิ่มงบประมาณ,ใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ฯลฯ

อันดับที่ 5 นักศึกษา/ นักเรียน ขาดคุณภาพ 11.11%

วิธีการแก้ไข ดูแลกวดขันมากขึ้น, พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาเข้าสู่ระดับมาตรฐาน,จัดหาอาจารย์ผู้มีความสามารถและรับผิดชอบดูแล ฯลฯ

อันดับที่ 6 วัฒนธรรม / จริยธรรมเสื่อมโทรมลง 8.21%

วิธีการแก้ไข ให้ทางสถาบันกวดขันความประพฤติมากขึ้น, ควรกำหนดเนื้อหาวิชาศาสนา จริยธรรม เป็นวิชาแกนบังคับ, ผู้ปกครองควรช่วยกันดูแล ฯลฯ

อันดับที่ 7 การแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารของกระทรวงศึกษาไม่โปร่งใส/ไม่ยุติธรรม 5.13%

วิธีการแก้ไข มีคณะกรรมการที่โปร่งใส/ ยุติธรรมดำเนินการ, ไม่ควรให้นักการเมืองมาจุ้นจ้าน, จัดให้มีการสอบขึ้นบัญชีชัดเจน ฯลฯ

อันดับที่ 8 หลักสูตรการเรียนการสอนล้าสมัย 3.38%

วิธีการแก้ไข จัดการเรียนให้มีการพัฒนาพร้อมทั้งมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก,เปิดให้มีสถาบันรับรองการศึกษานอกจากองค์กรของรัฐ, ระดมครูทั้งประเทศร่วมกันคิดอย่างทั่วถึง ฯลฯ

อันดับที่ 9 การแต่งกายและการขาดระเบียบวินัยของนักศึกษา 2.90%

วิธีการแก้ไข กวดขันเรื่องการแต่งกายมากขึ้น, อาจารย์ที่ปรึกษาต้องทุ่มเทเวลาต่าง ๆ ใกล้ชิดมากกว่านี้, ปลูกจิตสำนึกให้เข้าใจในบทบาทและหน้าที่ ฯลฯ

อันดับที่ 10 การปฏิรูปการศึกษาที่ล่าช้า ไม่มีแนวทางชัดเจน 2.61%


วิธีการแก้ไข ควรเร่งชี้แจงให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับทราบอย่างชัดเจนและเร่งสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรในกระทรวง ฯลฯ






ขอบคุณ สวนดุสิตโพล

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู

ในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นอกจากกำหนดให้มี
องค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาแล้วผู้บริหารการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหาร
ของสภาวิชาชีพในกำกับของกระทรวงแล้วยังกำหนดให้เฉพาะครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการ
ศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษาต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
(professional license) ยกเว้นบุคคลต่อไปนี้คือ

1) บุคลากรเป็นศูนย์การเรียน ตามมาตรา 18 (3)
2) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
3) วิทยากรพิเศษทางการศึกษา
4) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา

ในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเปิดสอนถึงระดับปริญญา คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ส่วนคณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งเปิดสอนระดับต่ำกว่าระดับปริญญา (อยู่ในสังกัดเขตพื้นที่
การศึกษา) ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ดังนั้น บุคคลตามนัยนี้ทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ในปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอยู่หลายหน่วยงาน
เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้สนับสนุนการวิจัยและทำประชาพิจารณ์ นำโดย
ศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และได้ข้อสรุปในเนื้อหาสาระหลายประการ แต่ยังไม่มีข้อยุติ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) และคุรุสภา กำลังดำเนินการร่าง กฎหมายเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้ร่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เสนอให้คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติให้ความเห็นชอบ และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2543 และประกาศใช้แล้ว

สำหรับมาตรฐานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีการกำหนด
คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาไว้ดังนี้

หลักการและเหตุผล

การบริหารกิจการใด ๆ ที่เกี่ยวกับสาธารณะในยุคโลกาภิวัตน์ มีความจำเป็นต้อง
อาศัยผู้บริหารมืออาชีพ จึงจะทำให้ธุรกิจต่างๆเหล่านั้นดำเนินการไปด้วยดีและบรรลุจุดมุ่งหมาย
ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็น
ไปอย่างรวดเร็ว อย่างไร้พรมแดน และกระทบกระเทือนไปทุกประเทศทั่วโลก
ในด้านการจัดการศึกษาก็ไม่มีเว้น มีความจำเป็นต้องอาศัยผู้บริหารการศึกษาและ
ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ จึงจะทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาประสบความสำเร็จและ
เป็นไปตามแนวทางที่พึงประสงค์

การเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว และ
ตลอดเวลา ซึ่งก่อให้เกิดความสลับซับซ้อนและปัญหาอย่างไม่มีสิ้นสุด จำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มี
วิสัยทัศน์ ความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรมในการดำเนินการ จึงจะทำให้องค์กรประสบความ
สำเร็จตามความมุ่งหมายที่คาดไว้

แม้ว่าการศึกษาของไทยจะได้เริ่มเป็นจริงเป็นจัง และกว้างขวางขึ้นมาเป็นเวลานาน
พอสมควร และได้รับการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขมาตลอด แต่ยังมีปัญหาอุปสรรคในการจัด
การศึกษา และการบริหารการศึกษาหลายประการ กล่าวคือ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542)

1) คุณภาพการจัดการศึกษายังไม่เป็นที่น่าพอใจ ที่พอจะสู้ประเทศอื่นในเวทีโลกได้
2) การบริหารการศึกษาและการจัดการศึกษายังรวมศูนย์อำนาจไว้ส่วนกลาง กอปรทั้ง
ขาดเอกภาพ ทั้งด้านนโยบายและมาตรฐาน
3) การขาดประสิทธิภาพของการประกันคุณภาพการศึกษา
4) การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน
5) การขาดการพัฒนานโยบายอย่างต่อเนื่อง
6) การขาดความเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน

นอกจากปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว ประเทศไทยในปัจจุบันยังประสบวิกฤตการศึกษาหลายประการ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, มีนาคม 2544) ได้แก่
1) วิกฤตด้านโอกาสและการเข้ารับการศึกษา
2) วิกฤตด้านคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะสัมฤทธิผลทางการเรียน
3) วิกฤตด้านความเสมอภาคในสิทธิทางการศึกษา
4) วิกฤตด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้
5) วิกฤตด้านการขาดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ ประสิทธิภาพใน
การผลิตและรายได้ประชาชาติ
6) วิกฤตด้านคุณธรรม จริยธรรม
7) วิกฤตด้านศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย

การแก้ปัญหาวิกฤตดังกล่าวจำต้องอาศัยปัจจัยแห่งความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาโดย
1) การเน้นที่คุณภาพผู้เรียน
2) การที่ผู้นำประเทศมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3) การมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งประเทศ และ
4) การจัดทำกฎหมายรองรับการปฏิรูปการศึกษา

การออก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เป็นก้าวย่างที่สำคัญในการวางกรอบการปฏิรูปการศึกษาเพื่อขจัดปัญหาและวิกฤตต่างๆ นับเป็น พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฉบับแรกที่มีฐานะเป็นกฎหมาย และมีกระบวนการพัฒนาสอดคล้องกับการออกกฎหมาย ค่อนข้างสมบูรณ์
กล่าวคือ

(1) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิจัย
(2) ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มีส่วนร่วม
(3) ได้จัดทำประชาพิจารณ์ (public hearing) อย่างกว้างขวาง และ (4) การพิจารณาอย่างรอบคอบของฝ่ายนิติบัญญัติ นับเป็นแม่แบบในการจัดการศึกษาและการบริหารการศึกษา ต่อไป

ใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีเนื้อหาสาระครอบคลุมทุกประเด็นเกี่ยวกับการศึกษา ตั้งแต่ :
1) ด้านปรัชญา เป้าหมาย และจุดมุ่งหมายการศึกษา
2) หลักการจัดการศึกษา
3) สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
4) รูปแบบการจัดการศึกษา
5) แนวการจัดการศึกษา
6) การบริหารและการจัดการศึกษา
7) มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
8) ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
9) ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
10) เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

การปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางและสาระสำคัญใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จะประสบความสำเร็จ ย่อมต้องอาศัยองค์กรและบุคคลหลายฝ่าย โดยเฉพาะองค์กรปฏิบัติ ได้แก่ สถานศึกษาระดับต่างๆ ซึ่งย่อมต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม ตลอดทั้งการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นอย่างดี

องค์ประกอบหลักเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่งของบุคลากรทางการศึกษาก็คือ เจตคติที่ดี
การให้ความสำคัญและการยอมรับในสาระสำคัญที่กำหนดไว้ ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริงต่อไป

เท่าที่ผ่านมาหน่วยงานทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และทบวงมหาวิทยาลัย (ทม.) ได้พยายาม
แก้ไข ปรับปรุงและปฏิรูปการศึกษา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จนัก
เพราะใช้เฉพาะแผนการศึกษาแห่งชาติที่ออกประกาศเป็นระยะๆ เป็นหลัก ซึ่งไม่มีผลบังคับได้เต็มที่

พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ โดยปฏิรูป
ทั้งกระบวนการเรียนรู้และโครงสร้างระบบบริหารการศึกษา
การปฏิรูปการศึกษาจะประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรทางการศึกษา
และประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ซึ่งต้องมี
ทั้งความรู้ ความชำนาญ และคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงาน
ในหมวด 7 ที่ว่าด้วยครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเป็นหมวดที่มีความ
สำคัญยิ่งหมวดหนึ่ง เพราะมีสาระสำคัญหลายประการคือ

1) ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต และพัฒนาครู คณาจารย์ และ
บุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยรัฐจัด
สรรงบประมาณ และกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ
2) ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการสำหรับข้าราชการครู และ
บุคลากรทางการศึกษา
3) ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา เป็นองค์กร
อิสระ มีอำนาจหน้าที่ใน 3 เรื่อง คือ
(1) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ
(2) ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
(3) กำกับ ดูแล การปฏิบัติตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณวิชาชีพ และให้

“ปัญหาการศึกษาของเด็กไทย”

1,000,000 คน จะพบว่าเด็กมีปัญหาทางการเรียนรู้จำนวน 1,000,000 คน ส่วนใหญ่มีปัญหาทางด้านการอ่านและการเขียนจำนวน 80%ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ประมาณ 800,000 คนจากทั่วประเทศ ทำให้เกิดมาตรการแก้ปัญหานี้จากหลายฝ่าย แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง
และจากที่กล่าวมานี้ทำให้รู้ว่าเด็กไทยมีปัญหาทางด้านการศึกษาเป็นอย่างมากทางเราจึงได้รวบรวมสาเหตุของปัญหาและแนวทางในการแก้ไขโดยมีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาของครูที่ส่งผลกระทบต่อเด็กไทย
ความเป็นมาและสาเหตุของปัญหา
จากการศึกษาปัญหาการศึกษาของเด็กไทยโดยมีศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ปัญหาวิกฤตการศึกษาไทยในปัจจุบัน นอกจากจะมีปัญหาเรื่องขาดแคลนครูแล้ว ยังมีปัญหาครูสอนไม่ตรงตามวุฒิการศึกษาที่เรียนจบมา จึงทำให้เกิดความอ่อนแอในเนื้อหาสาระ และเมื่อวัดระดับคุณภาพแล้วก็ปรากฏว่าครูเหล่านี้สอบตก ในขณะที่ ศธ.ก็ไม่สามารถจัดหาครูมาสอนตรงตามวิชาต่างๆ ได้ทั้งหมด เพราะครูประจำการที่สอนอยู่เดิมก็ต้องสอนต่อไป ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.ให้ จะประสานกับมหาวิทยาลัยต่างๆ จัดตั้งศูนย์อบรมและพัฒนาในพื้นที่ต่างๆ ขึ้น เพื่อให้ครูสามารถไปอบรมเพิ่มเติมได้ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์
สำหรับปัญหาและแนวทางการดำเนินการแก้ไขที่สำคัญๆ มีดังนี้
1.ปัญหาการขาดแคลนครู

ปัญหาการขาดแคลนครูในประเทศไทยว่านอกจากจะขาดแคลนในเชิงปริมาณแล้ว ประเด็นที่ใหญ่กว่านั้นคือการขาดแคลนในเชิงคุณภาพ เป็นปัญหาร่วมกันของทุกประเทศในเวทีการประชุมโต๊ะกลมภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาโดยมี ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต เป็นประธาน จนกระทั่งเกิดเป็น ข้อตกลงร่วมกันระหว่าง ๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และฮ่องกง ในการศึกษาวิจัยเรื่องการขาดแคลนครูในเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาว่าครูที่สอนในกลุ่มสาระวิชาต่างๆ มีคุณวุฒิตรงตามวิชาเอกที่เรียนมาหรือไม่ ระยะเวลาในการศึกษาวิจัย ๒ ปี และจะมีการประชุมสรุปผลการวิจัยของทั้ง ๗ ประเทศในเดือนพฤศจิกายนนี้รศ.ดร.พฤทธิ์ กล่าวต่อไปว่าคณะวิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลครูจำนวน ๘๔,๒๐๖ คน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาใน๑๑๕ เขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน วิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำการศึกษาเป็นวิชากลุ่มสาระตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน ๘ กลุ่ม ได้แก่ ผลการวิจัยพอสรุปได้ว่าในโรงเรียนรัฐบาล ครูที่สอนตรงกับคุณวุฒิวิชาเอกที่จบ โดยเฉลี่ยแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น ๗๔% ตรงกับ วิชาโท ๒% ครูที่สอนไม่ตรงกับคุณวุฒิวิชาเอกที่จบมี ๒๔% ส่วนครูในโรงเรียนเอกชนที่สอนวิชากลุ่มสาระต่างๆ ตรงกับวิชาเอกที่เรียนมามีถึง ๗๘% ตรงกับวิชาโท ๒% ครูที่สอนไม่ตรงกับคุณวุฒิวิชาเอกที่จบมีเพียง ๑๙%เมื่อแยกเป็นรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูโรงเรียนของรัฐที่สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตรงกับวิชาเอกที่เรียนมามากที่สุดคือวิทยาศาสตร์ (๘๕%) รองลงมาคือภาษาอังกฤษ (๘๐%) ภาษาไทย (๗๖%) สำหรับครูที่สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ไม่ตรงกับวิชาเอกที่เรียนมามากที่สุดคือ วิชาศิลปศึกษา (๓๙%) รองลงมาคือ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (๒๘%) สุขศึกษา (๒๗%) ในขณะที่โรงเรียนเอกชน ครูที่สอนตรงวุฒิ วิชาเอกมากที่สุดคือวิทยาศาสตร์ (๙๐%) อันดับสองคือสุขศึกษาและภาษาอังกฤษ (๘๓%) ส่วนครูที่สอนไม่ตรงกับวุฒิวิชา เอกมากที่สุดอันดับ ๑ และ ๒ คือวิชาศิลปศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยีเช่นเดียวกับโรงเรียนรัฐบาล ในขณะที่ครูโรงเรียนเอกชนที่สอนไม่ตรงวุฒิมากที่สุดเป็นอันดับ ๓ คือวิชาภาษาอังกฤษคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่าจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่า โรงเรียนเอกชนมีการจัดสรรครูสอนในวิชาต่างๆ ที่ตรงกับวุฒิการศึกษามากกว่าโรงเรียนของรัฐ ปัจจัยหนึ่งเป็นผลมาจากที่ผ่านมาโรงเรียนเอกชนมีระบบการสอบบรรจุครูเอง โดยให้ความสำคัญกับเรื่องการบรรจุครูที่สอนตรงตามวุฒิการศึกษาที่จบมา ส่วนโรงเรียนของรัฐบาลนั้น ระบบการสรรหาคัดเลือกครูแต่เดิมจะมีการรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพฯ ครูที่ผ่านการสอบคัดเลือกจะถูกส่งไปยังโรงเรียนต่างๆ การมีระบบกระจายอำนาจไปยังเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนตามการปฏิรูปการบริหารงานบุคคลของครูน่าจะช่วยให้การบรรจุครูตรงกับวุฒิการศึกษา มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ได้ครูที่สอนไม่ตรงวุฒิการศึกษาได้แก่ ระบบการจัดการศึกษาเพื่อผลิตครูผู้สอนในบางรายวิชา ยังมีไม่เพียงพอ การที่ข้าราชการครูขอย้ายไปช่วยราชการในโรงเรียนอื่นหรือในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลด้วยเหตุผลต่างๆ ซึ่งอาจไปสอนในวิชาที่ไม่ตรงกับสาขาที่จบมา
2.ปัญหาครูสอนไม่ตรงตามวุฒิการศึกษาที่จบมา นายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ ปัญหาครูสอนไม่ตรงตามวุฒิการศึกษาที่จบมา ทำให้มีความอ่อนแอในเนื้อหาสาระ และเมื่อวัดระดับแล้วก็ปรากฏว่าครูสอบตก ขณะเดียวกันกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็ไม่สามารถหาครูที่จบตรงตามวุฒิการศึกษาที่สถานศึกษาขาดแคลนมาสอนตามวิชาต่างๆ ได้ทั้งหมด เพราะครูประจำการที่สอนอยู่เดิมก็จะต้องสอนต่อไป

รมว.ศธ. กล่าวว่า เมื่อครูได้รับการพัฒนาแล้ว จะมีระบบประเมินผลการพัฒนาและการให้กำลังใจ ใน 2 ด้าน คือ ถ้าเติมความรู้ได้มากถึงระดับที่กำหนดก็จะให้ได้รับวุฒิการศึกษาในสาขาวิชาที่มาเพิ่มเติม และถ้าเติมในบางส่วนและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำหน้าที่ก็อาจจะให้เงินค่าวิทยพัฒน์ หรือค่าวิชาที่พัฒนาแล้วสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ครูตื่นตัวที่จะเข้ารับการพัฒนา ซึ่งในส่วนนี้จะไม่ใช้เงินมาก เพราะเป็นเงินเพิ่มที่ไม่ใช่เงินเดือน

แนวทางการแก้ปัญหา

จากบทความได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาดังนี้
รศ.ดร.พฤทธิ์ เสนอว่า งานการบริหารบุคคลการบรรจุครู เป็นหน้าที่ของโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จะต้องร่วมมือกันซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาครูที่สอนไม่ตรงตามวุฒิ ในบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ประสบปัญหาดังกล่าวควรมีการส่งครูไปเข้ารับการอบรมเพิ่มพูนความรู้เพิ่มเติม
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำรวจว่ามีครูที่สอนไม่ตรงตามวุฒิ หรือสอนตรงตามวุฒิแต่ยังต้องเพิ่มเติมเนื้อหาสาระจึงจะทำให้สอนในวิชานั้นๆ ได้ดี จำนวนเท่าไหร่ ที่ไหน เพื่อระดมพลังหน่วยงานทางการศึกษาพัฒนาเติมเนื้อหาสาระให้ โดยจะประสานกับมหาวิทยาลัยต่างๆ จัดตั้งศูนย์อบรมและพัฒนาขึ้น